โรคเอแอลเอส
สาเหตุของโรค
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่ถ้าคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ก็จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดจากกลไกภูมิคุ้มกันต่อตนเองผิดปกติ (Autoimmune Attack) หรือเกิดจากกลไกอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ทำลายเซลล์ประสาทของตนเอง อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังเกิดจากสารสื่อนำกระแสประสาทที่เรียกว่า กลูตาเมท (Glutamate) กระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์อาการของโรค
ผู้ป่วยโรคเอแอลเอส มักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งที่ต้นแขน มือ ขาทั้ง 2 ข้าง โดยจะรู้สึกเมื่อยล้า ยกแขนไม่ขึ้น หยิบจับของไม่ถนัด ใส่รองเท้าแตะแล้วหลุดง่าย ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกปวดโดยไม่พบสาเหตุ ก่อนหน้าจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นเวลานาน ผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนลำบาก สำลักง่าย หรือพูดไม่ชัด ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นว่ากล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ฝ่อลีบ และกล้ามเนื้อหลายตำแหน่งอาจเต้นพลิ้วเป็นระยะตลอดวัน ผู้ป่วยยังสามารถกลอกตาไปมาและควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดได้ จึงกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการชา และมีสติดีตลอดระยะเวลาการรักษา
ให้ยาไรลูโซน (Riluzole) 50 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง จะช่วยลดการทำลายเซลล์ประสาท ไขสันหลังและสมอง โดยยานี้จะช่วยยืดอายุของผู้ป่วยออกไปประมาณ 3-6 เดือน และไม่ได้ทำให้อาการอ่อนแรงดีขึ้นหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ไขอาการท้องผูก ยาลดน้ำลาย การทำกายภาพบำบัด การฝึกพูด ฝึกกลืน ใส่สายยางเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารได้ และการให้ออกซิเจนเมื่อผู้ป่วยเหนื่อย เป็นต้นที่มา ebook on maceducation.com/e-knowledge/2504209100/01.htm