10 ปัญหาคาใจเกี่ยวกับการนอน
1. ทำไมการนอนจึงสำคัญ การ นอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุกส่วนได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้ทำงานผิดพลาด ทำงานได้น้อยลง คุณภาพงานต่ำกว่าปกติ และมีงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม. หรือนอนมากกว่า 10 ชม. ต่อคืน เป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ คนที่นอนไม่เพียงพอนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดเมื่ออายุมากขึ้น และการนอนระหว่าง 21. 00-22.00 น. จะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะโกร๊ธ ฮอร์โมน ( growth homone) หลั่งออกมาอย่างเต็มที่ในช่วง 22.00-24.00 น. ช่วยซ่อมสร้างเซลล์ในร่างกาย และควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน 2. นอนหลับท่าไหนดีที่สุด การ นอนมีความสัมพันธ์กับกระดูกสันหลัง เพราะหากนอนผิดท่า เช่น นอนงอตัวหรือนอนบิดตัว ติดต่อกันหลายๆ ปี อาจทำให้กระดูกสันหลังเลื่อนออกนอกแนวระนาบ ผิดรูป หรือคดงอได้ ท่านอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นอนหลับสนิท ตื่นนอนอย่างสดชื่นและไม่ปวดเมื่อย - นอนหงาย ควรใช้หมอนหนุนหัวแบบต่ำเพื่อให้ต้นคออยู่แนว เดียวกับลำตัว ป้องกันการปวดคอจากนอนคอพับหรือนอนเงยคอมากเกินไป แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกด ทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก หัวใจทำงานลำบากขึ้น การนอนหงาย ยังอาจทำให้ผู้มีอาการปวดหลังมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย
- นอนตะแคง การนอนตะแคงขวาช่วยให้หัวใจทำงานสะดวก และอาหารที่ค้างในกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยลดอาการปวดหลังได้ทางหนึ่ง แต่การนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เสียดลิ้นปี่ เพราะอาหารย่อยไม่หมดและค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร หญิงตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับกระดูกสันหลังและเส้นเลือด แดงใหญ่กลางลำตัว
- นอนคว่ำหน้า อาจทำให้หายใจติดขัดและปวดต้นคอ เพราะคอแอ่นมาทางด้านหลังหรือบิดไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานานๆ ถ้าต้องนอนคว่ำหน้าควรใช้หมอนรองใต้หน้าอกเพื่อไม่ให้ปวดเมื่อยต้นคอ
3. เลือกซื้อที่นอนอย่างไรดี ที่ นอนควรมีขนาดกลางๆ ไม่นิ่ม หรือแน่นเกินไป (แต่ถ้าต้องเลือกระหว่างที่นอนนิ่ม กับที่นอนแน่น ควรเลือกที่นอนแน่น เพราะที่นอนนิ่มจะทำให้ปวดหลังได้มากกว่า) แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสรีระของแต่ละบุคคล ถ้าคุณลองนอนดูแล้ว ไม่เกิดอาการปวดหลังก็ถือว่าใช้ได้ และควรเลือกที่นอนที่ยาวกว่าความสูงของตัวเองอย่างน้อย 15 ซม. และพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ด้วย - ความแน่นของที่นอน (Firmmess) ขึ้นอยู่กับความชอบและรูปร่างของผู้นอน เช่น คนที่รูปร่างใหญ่ จะเหมาะกับที่นอนแน่นเป็นพิเศษ
- ชั้นโอบรับ (Conformity) คือมีส่วนที่สัมผัสและโอบรับกับร่างกายอย่างเหมาะสม เข้ากับส่วนโค้งเว้าได้ดี จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและนอนหลับสบายขึ้น
- ความแข็งของที่นอน (Edge Support) คือ ความสามารถในการรับน้ำหนัก โดยเฉพาะช่วงขอบของที่นอน ป้องกันการยุบตัว และไม่เกิดการลื่นไหลเวลานั่งขณะขึ้นหรือลงจากที่นอน
เมื่อ ใช้ที่นอนนานเกิน 6 เดือน ควรกลับที่นอนอีกด้านหนึ่งขึ้นมาใช้ เพื่อไม่ให้ที่นอนถูกใช้งานเพียงด้านเด ียว เพราะทำให้ที่นอนเสื่อมสภาพเร็ว และควรกลับด้านหัวนอนและปลายเท้าสลับกันด้วย เพื่อใช้งานอย่างทั่วถึงทั้งสี่ด้าน |