เมื่อ วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013, 19 นาฬิกา 52 นาที 21 วินาที UTC+7, ๐ เจ้าป้า ๐ เขียนว่า:
ออกกำลัง"สมอง" เพิ่ม"คุณภาพ"ให้ชีวิต
ดร.ริชาร์ด เดวิดสัน นักประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสั
น สหรัฐอเมริกา ค้นพบข้อเท็จจริงที่สมเด็จพระสั มมาสัมพุทธเจ้าค้นพบมากว่าสองพั นห้าร้อยปีก่อนหน้านี้ว่า สมองของคนเรานั้นไม่เพี ยงสามารถปรับปรุงขี ดความสามารถในการทำงานให้ดีขึ้ นได้ด้วยกระบวนการฝึก หากแต่ยังสามารถปรับเปลี่ยนเชิ งโครงสร้ างระบบประสาทของสมองไปในทางที่ ดีได้ด้วยการฝึกฝนหรือการ " ออกกำลังสมอง" ดังกล่าวนั้น
ดร.เดวิดสัน พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวนหนึ่งกล่าวไว้ในการสั มมนาที่สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งนิ วยอร์ก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ว่า สมองของคนเราไม่ได้หยุดนิ่งเฉย แต่ปรับเปลี่ยนอยู่ ตลอดเวลาไปตามประสบการณ์ของผู้ เป็นเจ้าของสมองไปจนตลอดชีวิต อันที่จริงแม้หลังการเสียชีวิ ตแล้ว โครงสร้างของสมองก็ยังปรับเปลี่ ยนไปอีกเป็นครั้งสุดท้ ายในระยะเวลาสั้นๆ หลังการตาย ก่อนที่จะปิดสนิทไปตลอดกาล
ในวิชาการทางด้านประสาทวิทยา เรียกการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนี้เอาไว้ว่า "นิวโรพลาสติซิตี้" ที่หมายถึงการเปลี่ยนรู ปของระบบประสาทไปตามแรงที่ กระทำต่อสมองนั้นๆ ซึ่งก็คือประสบการณ์ที่ผ่ านมาและสั่งสมไว้ของคนเรานั่ นเอง สิ่งที่บ่งชี้ถึงเรื่องนี้ก็คื อเหตุผลของการที่เด็กๆ และวัยรุ่นสามารถเรียนรู้ " ภาษาที่สอง" หรือ "ท่วงทำนองและเครื่องดนตรี" ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ที่โครงสร้ างของระบบประสาทปรับเปลี่ ยนไปมากแล้วตามกาลเวลานั่นเอง
แต่ปรากฏการณ์ "นิวโรพลาสติซิตี้" ก็เป็นเครื่องยืนยันได้เช่นกันว่า เราสามารถฝึกฝนเพื่อเปลี่ ยนแปลงการทำงานและรู ปแบบของสมองได้ แอมิชิ จา นักประสาทวิทยาอีกคนจากมหาวิ
ทยาลัยไมอามี ได้เรียนรู้ประสบการณ์ดังกล่ าวนี้ด้วยตัวเองหลังจากเคยรับฟั งการบรรยายของ ดร.เดวิดสัน ที่แนะนำให้ผู้ฟัง "ออกกำลั งสมอง" ด้วยการนั่งสมาธิศาสตราจารย์จาเปิดเผยว่า ในฐานะเป็นศาสตราจารย์หน้าใหม่ และเป็นคุณแม่มือใหม่พร้อมกันไป ทำให้ทั้งชีวิตส่วนตัวและหน้าที
่การงานกลายเป็นแรงกดดั พบว่าการที่นมหาศาลจนถึงกับก่อให้เกิดการมึ นงง เฉยเฉื่อยชาไปเลย แต่เมื่อทดลองทำสมาธิ ตามคำแนะนำของ ดร.เดวิดสันไประยะหนึ่ง ไม่เพียงศาสตราจารย์ จาจะสามารถเพิ่มการตื่นตัว ความฉับไวของสมองได้มากขึ้นเท่ านั้น จากการตรวจสอบยังพบว่ าสมองของตนเองมีการไหลเวี ยนของกระแสไฟฟ้าในรูปแบบที่เป็ นทางบวกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ในเวลาเดียวกันกับที่อาการเครี ยดที่เกิดขึ้นลดระดับลงอย่างเห็ นได้ชัด ส่งผลให้ศาสตราจารย์รายนี้หั นมาศึกษาเพิ่มเติมทางด้ านประสาทวิทยาในที่สุด
ดร.เดวิดสัน เคยใช้พระสงฆ์ที่ผ่านการบวชเรียน ฝึกจิต บำเพ็ญภาวนามาแล้วกลุ่มหนึ่งเป็ นตัวอย่างเพื่อศึกษาการเปลี่ ยนแปลงเชิงโครงสร้ างของระบบประสาทของสมองดังกล่ าวนี้ พบว่าระดับการเปลี่ยนแปลงของกิ จกรรมของสมองขึ้นอยู่กับระดั บของการฝึกฝนของพระสงฆ์แต่ละรูป และความต่างของวิธีการทำสมาธิที ่แต่ละรูปใช้ แต่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนถึ งการเชื่อมโยงระหว่างการทำสมาธิ กับระดับของขันติ ความอดทน อดกลั้นที่คนเรามีต่อสภาวะปั ญหาและความเพียร หรือความมานะบากบั่นของแต่ละบุ คคล
จากการศึกษาของ ดร.เดวิดสันคนเราเกิด "ความรู้สึก" ค้างคา เป็นปฏิกิริยาต่อปัญหาหนึ่งปั ญหาใดอยู่ยาวนานแม้ว่าปั ญหาจะเกิดขึ้นนานแล้วก็ตามนั้น เป็นเพราะสมองในส่วนที่เรียกว่า "อไมกดาลา" (amygdala) ทำงานยืดเยื้อเกี่ยวกับเรื่องนั ้นนั่นเอง การทำสมาธิเพื่อสร้างความตื่นตั วให้กับสมองหรือการเจริญสตินั้ นช่วยฟื้นฟู การทำงานของอไมกดาลาให้กลับคื นสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ยิ่งฝึกฝนนานมากเท่าใด การฟื้นสู่สภาพปกติก็ยิ่งเร็ วมากขึ้นเท่านั้น
ข้อแนะนำเรื่องการ "ออกกำลังสมอง" ด้วยการฝึกสมาธิพื้นฐานง่ายๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ก็คือ การพุ่งความสนใจของเราไปที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว อย่างเช่นการทำสมาธิให้อยู่ที่ ลมหายใจเข้าออก เมื่อเกิดวอกแวกก็ดึงจิตใจกลั บมาที่ลมหายใจของเราให้ต่อเนื่ องให้ได้
หน้า 9,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556--
แ ว ะ ทั ก ท า ย กั น ไ ด้ น ะ ค ะ...................
กูเกิ้ลพลัส : http://gplus.am/JaoPha
เฟซบุ๊ค : http://www.facebook.com/jaopha
เจ้าป้า'ช็อป : http://jaophashop.tarad.com